“เร้ดแฮท” ถึงเวลาปั้นทีมโลคอล ย้ำเทรนด์ “โอเพ่นไฮบริดคลาวด์”

“เร้ดแฮท” ถึงเวลาปั้นทีมโลคอล ย้ำเทรนด์ “โอเพ่นไฮบริดคลาวด์”

cloudคลาวด์ เก็บข้อมูล

วิกฤต “โควิด” ทำให้บริษัทต่าง ๆ มองหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยเพิ่มศักยภาพ และสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจของตนเองมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นโอกาสของ “เร้ดแฮท” ผู้ให้บริการโอเพ่นซอร์ซด้วยเช่นกัน

“สุพรรณี อำนาจมงคล” ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการโอเพ่นซอร์ซ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากย้อนไป 10 ปีก่อน ถ้าแต่ละองค์กรมีไอเดียว่าจะสร้างนวัตกรรมใหม่ก็จะต่างคนต่างพัฒนาซอฟต์แวร์

หรือสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเองนำไปสู่การริเริ่มไอเดียที่บอกว่า ทำไมไม่ช่วยกันสร้าง ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของ “โอเพ่นซอร์ซคอมมิวนิตี้” ที่ดังมากเวลานั้น ก็คือ “ลีนุกซ์” ในฐานะพื้นที่ที่ทุกคนมาช่วยกันสร้างนวัตกรรมร่วมกัน

“เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ก็มีช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย จึงเป็นโอกาสของเร้ดแฮท ในการเข้าสู่ธุรกิจด้านนี้ โอเพ่นซอร์ซเป็นเหมือนบ่อน้ำที่ทุกคนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ฟรี

แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาก็ไม่มีใครรับผิดชอบ ดังนั้น เร้ดแฮทจึงเป็นผู้นำน้ำในบ่อมาใส่ขวดสร้างมาตรฐานรองรับ ทำให้มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยได้”

ความท้าทายโอเพ่นซอร์ซในไทย

“สุพรรณี” ขึ้นมารับผู้จัดการประจำประเทศไทยเป็นทางการ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย Solution Architect มาก่อน และถือเป็นพนักงานคนแรก ๆ

ที่เข้าร่วมกับบริษัทมาตั้งแต่เริ่มเข้ามาเจาะตลาดในประเทศไทย เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เริ่มต้นจากพนักงาน 2 คน ปัจจุบันมีถึง 22 คน ดังนั้นแม้เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่เพียงไม่กี่เดือน แต่ประสบการณ์ในการทำงานไม่ใหม่

“ความท้าทายสำคัญในช่วงเริ่มต้นของเร้ดแฮทในตลาดไทย คือ องค์กรไทยไม่รู้จักโอเพ่นซอร์ซ และรู้สึกว่า โอเพ่นซอร์ซ คือ ฟรีโค้ด ซึ่งจริง ๆ แล้วฟรีโค้ด คือ ฟรีดอม ที่ทุกคนมีอิสระในการแลกเปลี่ยนโค้ด

เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกัน โดยในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ เข้าใจ และนำโอเพ่นซอร์ซไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ ที่ชัดเจนคือ กลุ่มธนาคาร”

“สุพรรณี” บอกว่า แต่เดิมทุกวันที่ 16 หรือ 30 ของทุกเดือนจะมีข่าวว่า แบงก์นั้นแบงก์นี้ระบบล่มบ่อย ๆ เพราะคนใช้พร้อมกันจำนวนมาก ๆ เมื่อ 4-5 ปีก่อน กสิกรไทยเองจึงตั้งบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด

หรือ KTBG ขึ้นมาโฟกัสด้านการพัฒนาไอที ซึ่งเร้ดแฮทได้เข้าไปร่วมพัฒนาโซลูชั่น และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้สะดวกขึ้น

“ปัจจุบันลูกค้าโอเพ่นซอร์ซแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มองค์กรใหญ่ที่มีการนำโอเพ่นซอร์ซเข้าไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ และได้ผลตอบรับที่ดี อีกส่วนคือกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ แต่มีความสนใจ บริษัทเหล่านี้มองเห็นความสำเร็จจากองค์กรใหญ่ ๆ และเริ่มกล้าใช้มากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดี”

เสริมทีมใหม่ลุยขยายธุรกิจ

เป้าหมายธุรกิจของ “เร้ดแฮท” ในไทย คือ การช่วยเหลือธุรกิจของลูกค้าให้สามารถเติบโตต่อได้

บริษัทจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ด้วย และในไตรมาส 4/2564 เป็นต้นไป เร้ดแฮทประเทศไทย จะมีทีมการตลาดที่เป็นทีมโลคอลเข้ามาเสริมทัพ

“ที่ผ่านมามีทีมรีจินอลจะเป็นผู้ดูแลการตลาด เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถขอความช่วยเหลือจากทีมได้ แต่โควิดทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ เราจึงต้องตัดสินใจทำอะไรใหม่ด

นั่นคือการเพิ่มทีมการตลาด เป็นสิ่งที่เราได้ขอจากบริษัทแม่ เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยอยากคุยกับคนไทยในภาษาไทย ถือเป็นจุดสำคัญทำให้ลูกค้ารู้จักเร้ดแฮทมากขึ้น และทำให้บริษัทเข้าหาลูกค้าขนาดกลาง และเอสเอ็มอีได้มากขึ้น เพื่อผลักดันให้เร้ดแฮท ประเทศไทย เติบโตต่อเนื่อง”

Cr:ประชาชาติธุรกิจ

Back To Top