รมช.ประภัตร ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ นำทีมฝ่าสายฝน สู้ลัมปี – สกิน Kick off เริ่มฉีดวัคซีนมั่นใจสถานการณ์คลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว

รมช.ประภัตร ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ นำทีมฝ่าสายฝน สู้ลัมปี – สกิน Kick off เริ่มฉีดวัคซีนมั่นใจสถานการณ์คลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว

รมช.ประภัตร ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ นำทีมฝ่าสายฝน สู้ลัมปี – สกิน

  (วันที่ 12 มิถุนายน 2564) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตำบลกุดสิมคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ กำกับดูแลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี – สกิน (Lumpy Skin Vaccine : LSDV)ร้อมมอบสารกำจัดแมลงและเวชภัณฑ์สัตว์แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค – กระบือ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคดังกล่าว โดยมีนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ตลอดจนผู้นำภาคประชาชนเข้าร่วม
สำหรับมาตรการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรค 5 มาตรการของกรมปศุสัตว์ มีดังนี้ 1.การควบคุมการเคลื่อนย้ายโค – กระบือ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคอย่างเคร่งครัด 2.การเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด 3.การป้องกันและควบคุมแมลงพาหนะนำโรค ให้เกษตรกรป้องกันโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์ และโดยรอบฟาร์ม 4.การรักษาสัตว์ป่วยตามอาการ 5.การใช้วัคซีนควบคุมโรค ซึ่งจะทำให้การควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ โรคสงบโดยเร็ว ซึ่งการใช้วัคซีนเป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่กรมปศุสัตว์ โดยคณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีนฯ พิจารณากำหนดแผนการฉีดวัคซีน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการฉีดวัคซีนลัมปี – สกิน ในสัตว์ชนิดโค – กระบือ พ.ศ.2564 เพื่อให้เป็นแผนเดียวกัน มีความปลอดภัยต่อสัตว์และเป็นไปตามหลักวิชาการ มีการประเมินความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในพื้นที่ และประเมินประสิทธิภาพความคุมโรคหลังจากฉีดวัคซีน
” มาตรการเยียวยาเกษตรกรจากกรณีโค – กระบือเสียชีวิตจากโรค   ลัมปี – สกินนั้น มาตรฐานเดิมอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค – กระบือ ตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวเป็นเงินสดผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร สัตว์อายุ น้อยกว่า 6 เดือน โคจ่ายเงินเยียวยา 6,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 8,000 บาทต่อตัว จ่ายตามจริง          แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวต่อราย อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 12,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 14,000 บาทต่อตัว อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 16,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 18,000 บาทต่อตัว อายุมากกว่า 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 20,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 22,000 บาทต่อตัวนั้น ตนกำลังพิจารณานำเรื่องหารือกับกรมบัญชีกลาง เพื่อขอปรับเรทการจ่ายเงินชดเชยให้เพิ่มมากขึ้นจากมาตรฐานเดิม และจากเดิมจ่ายเงินชดเชยต่อการตายเพียงไม่เกิน 2 ตัว ก็จะเสนอให้ปรับจ่ายตามจำนวนการเสียชีวิตจริง” รมช.ประภัตร กล่าว
นอกจากนี้ รมช.ประภัตรยังได้แนะนำโครงการประกันโค – กระบือ ของกรมปศุสัตว์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยจ่ายเบี้ยเพียงเดือนละ 100 บาท จ่ายทั้งสิ้น 4 เดือน คุ้มครองการตายทุกกรณี จ่ายเงิน 30000 บาทต่อตัว และโครงการเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ล้านละร้อย โดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มให้ได้ 7 คน จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทำเกษตรกรรม โดยมีตลาดรองรับผลผลิต ก็สามารถยื่นกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยหากเกษตรกรสนใจโครงการดังกล่าว สามารถติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์หรือธกส. ในพื้นที่
ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี – สกิน ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการระบาด 18 อำเภอ มียอดสัตว์ป่วยสะสม 10,026 ตัว เกษตรกรได้รับผลกระทบ 5,599 ราย เพื่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดเขตโรคระบาดชนิดลัมปี – สกิน (Lumpy Skin Disease) ในโคและกระบือ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 และเพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย 18 อำเภอ 132 ตำบล 7 ชุมชน 1,358 หมู่บ้าน ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564
Back To Top